โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
top of page
dustfreehouses_logo.png

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง



มักเกิดร่วมกับโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด แพ้อากาศ สาเหตุโรคไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าสาเหตุจากพันธุกรรม ซึ่งโรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ไวกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ความผิดปกติภายในร่างกายไม่เพียงส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ข้างใน แต่โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือโรคภูมิแพ้ผิวหนัง คือ อีกปัญหาที่พบได้บ่อยและส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายใน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้หรือโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ก็อาจเกิดจากปัจจัยภายนอกได้เช่นกัน


เราจึงควรทำความเข้าใจแบบเจาะลึก...เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้นี้โรคผิวหนังที่พบบ่อยแบ่งเป็น 6 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้


  1. โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และโรคจากปรสิต เป็นต้น

  2. โรคผิวหนังอักเสบเอกซิมา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โรคเอกซิมาที่เกิดจากปัจจัยภายใน (Endogenous eczema) โรคเอกซิมาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก (Exogenous eczema)

  3. โรคผื่นแดง (Erythemas), ลมพิษ (Urticaria), ผื่นแพ้ยาชนิดต่างๆ (Drug eruptions)

  4. โรคกลุ่มที่เป็นผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดหรือขุย (Papulosquamous diseases) เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นขุยกุหลาบ เป็นต้น

  5. โรคภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง เช่น โรค เอส แอล อี โรคพุพองกลุ่ม Bullous pemphigoid

  6. โรคมะเร็งผิวหนัง (Skin malignancy)



อาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้



  • อาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ คือ ผิวหนังมีน้ำมันในชั้นหนังกำพร้า (Stratum corneum) น้อยกว่าคนปกติทั่วๆ ไป

  • มีอาการคันที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ และมักเป็นมากตอนกลางคืน เกิดผื่นแดงที่ผิวหนังง่ายเป็นขุยลอกตามผิวหนัง

  • ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้มักมาพบแพทย์ ด้วยอาการเหล่านี้.. ผื่นแดงคันตามข้อพับ เช่น ข้อพับแขน ข้อพับขา คอ รักแร้ ขาหนีบ ร่องก้น ผื่นหรือตุ่มคันตามแขน ขา 2 ข้าง แต่บางรายก็เป็นข้างเดียว เป็นดวง หรือวงขาวบริเวณแก้ม แขน ขา หรือลำตัว อาจเป็นวงเดียวหรือหลายวงตุ่มนูนบริเวณรูขุมขนส่วนแขน ขา ผื่นคันแดงหรือน้ำตาลบริเวณศอก เข่า ต้นคอ ผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ดที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือหรือ ฝ่าเท้า ริมฝีปากแดง แห้งลอกเป็นขุย เป็นๆ หายๆ

  • อาการคันเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อน ทำให้นอนไม่หลับ หงุดหงิด การเกาหรือแกะผิวหนังอย่างมาก ทำให้อาการผิวหนังอักเสบกำเริบมากขึ้น มีน้ำเหลืองออกมาที่ผิวหนัง ยิ่งทำให้อาการคันกระจายไปทั่วตัวที่ ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำเหลืองเสีย”

  • โดยอาการอื่นๆ ที่ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อาจมีร่วมด้วย ได้แก่ อาการน้ำมูกไหล ไอ จามเป็นๆหายๆ หรือมีอาการ หอบหืดร่วม



สาเหตุโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้


สาเหตุของโรคนอกจากจะอาศัยประวัติอาการและอาการแสดงดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งยังต้องอาศัยการถามประวัติในครอบครัวผู้ป่วยซึ่งมักพบว่า พี่น้อง บิดามารดา น้า อา ลุง ปู่ ย่า ตา หรือยายมีอาการโรคภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งร่วมอยู่ด้วย เมื่อวินิจฉัยโรคได้แล้วแพทย์จะประเมินความรุนแรงของโรคแล้วจึงให้การดูแลรักษาตามลำดับดังนี้



  • อธิบายเรื่องโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ให้ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ทราบว่า จุดอ่อนหรือความบกพร่องของผิวหนังเป็นลักษณะทางพันธุกรรม จะอยู่กับผู้ป่วยตลอดไป แต่ร่างกายของผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้โดยการให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นทาโลชั่นบำรุงผิวหนังอยู่เสมอๆ ตามสภาพอากาศ ไม่อาบน้ำอุ่นนานๆ เพราะน้ำอุ่นจะชะล้างไขมันที่ผิวหนังออกไป แพทย์สามารถควบคุมโรคได้ในช่วงที่ผิวหนังอักเสบ แต่การดูแลอาการต่างๆ ของโรคในระยะยาวต้องอาศัยผู้ป่วยและญาติที่ใกล้ชิดช่วยควบคุมและดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ที่จะทำให้โรคสงบหรือหายไปได้ในระยะยาว

  • แพทย์จะควบคุมอาการคันด้วย ยาแก้คัน (Anti-histamine) ต้อง รับประทานยานี้ติดต่อกัน จนไม่มีอาการคันติดต่อกัน 7 วันจึงหยุดยาแก้คันได้ อาการคันอาจไม่หายไปหมดจากการรับประทานยาให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้นชโลมผิวหนังจะช่วยลดอาการคันได้

  • ผิวหนังที่อักเสบแดงหรือเป็นขุยลอกให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ความแรงระดับกลาง เช่น Triamcinolone acetonide 0.1% cream,Betamethasone 17-valerate cream ทาวันละ 2 ครั้งติดต่อกันนาน 7-14 วัน ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากกระจายทั่วตัวหรือการอักเสบเป็นรุนแรงจนมีน้ำเหลืองออกมาอยู่บนผื่นผิวหนัง ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องใช้ยารับประทานสเตียรอยด์และใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % เช็ดน้ำเหลืองอย่าปล่อยให้น้ำเหลืองเยิ้มอยู่ที่ผิวหนังเพราะจะทำให้เกิดอาการคันและตุ่มแดงกระจายทั่วตัวที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำเหลืองเสีย”

  • ถ้าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ตามที่กล่าวมาแล้วจะช่วยให้ผิวหนังที่อักเสบกลับคืนสู่สภาปกติได้โดยเร็วอย่างไรก็ตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยตามที่แนะนำแล้ว จะช่วยลดการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบซ้ำกันได้ ในกรณีที่เกิดผื่นผิวหนังอักเสบผู้ป่วยสามารถใช้สเตียรอยด์ครีมความแรงที่เหมาะสมทาเพื่อช่วยให้ผื่นหายไปได้รวดเร็วขึ้น การดูแลโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ให้หายและเกิดเป็นซ้ำให้น้อยที่สุดหรือไม่เป็นอีกเลย


แหล่งข้อมูล phyathai


bottom of page